หากนำกระบวนการระบบทั้งสองมาผสมผสานกันจะได้ระบบใหม่ที่เรียกว่า การจัดการสหกรณ์ ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

ระบบการจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดการสหกรณ์ด้วยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถทำได้อย่างลงตัว เพราะจากการศึกษาขั้นต้นพบว่าเป็นระบบที่มีความสอดคล้องกัน จึงอยู่ที่ภาคปฏิบัติการในการระบุรายละเอียดแต่ละกระบวนการขั้นตอนของการดำเนินงานว่าจะจัดการอย่างไร ให้เป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่อไปนี้ขอนำเสนอภาคปฏิบัติการตามขั้นตอน คือ
1. การรวมกันของคณะบุคคล
การจัดตั้งสหกรณ์เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต หรือความต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่จึงรวมกันเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการเดียวกันจัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์ในการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และการรับสมัครบุคคลเข้าเป็นสมาชิกใหม่ การปฏิบัติงานในขั้นตอนนี้เป็นการรวมกลุ่มคนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
ขั้นตอนแรก การคัดคน การจัดการสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นตอนการคัดคน ต้องคัดคนที่มีคุณค่าความเป็นคน หรือมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือต้องเป็นบุคคลที่ใช้สานกลางในการดำเนินชีวิต มีความพอดี พอประมาณ สร้างภูมิต้านทานในตัวเองให้อยู่รอดได้ ซึ่งดูได้จากพฤติกรรมภายนอก คือ 1. เป็นคนขยัน ประหยัด 2. เป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ
ลักษณะคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | ||
---|---|---|
ใช่ | ไม่ใช่ | |
1 | คนขยัน | คนเกียจคร้าน |
2 | คนประหยัด | คนฟุ่มเฟือย |
3 | รายรับมากกว่ารายจ่าย | รายจ่ายมากกว่ารายรับ |
5 | มีคุณค่าความเป็นคน | หาคุณค่าไม่ได้ |
6 | ซื่อสัตย์ | คดโกง |
7 | เสียสละ | เห็นแก่ตัว |
8 | ปฏิบัติตามระเบียบ | ฝ่าฝืนระเบียบ |
9 | พึ่งพาตนเองได้ | พึ่งพาผู้อื่น |
10 | พอเพียง พอดี พอประมาณ | ขาด - เกิน |
11 | คุ้มกันตัวเองได้ | เอาตัวไม่รอด |
12 | มั่นคง | อ่อนแอ |
13 | เพื่อส่วนรวม | เพื่อส่วนตัว |
14 | ชาติคือการเดินไปสู่เป้าหมาย | ชีวิตไม่มีเป้าหมาย |
2. การรวมทุน
เมื่อได้คนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วนับว่าได้คนดี มีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกันภายใต้ระบบงานสหกรณ์ ต่อจากการรวมคนดีคือ การรวมทุนเพื่อเตรียมดำเนินงานที่มาแหล่งเงินทุนขอระบบงานสหกรณ์นั้นมาจาก เงินค่าหุ้นที่สมาชิดทุกคนถือกับสหกรณ์ เงินรับฝากจากสมาชิก เงินรับบริจาคจากบุคคลผู้มอบให้สหกรณ์ตามวัตถุประสงค์ เงินกู้ที่สหกรณ์ไปขอกู้มาจากแหล่งเงินทุน เงินจัดสรรจากกำไรสุทธิของสหกรณ์ การรวบรวมเงินทุนของสหกรณ์หากดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีวิธีการจัดการ คือ เงินทุนภายในมากกว่าหรือเท่ากับเงินทุนภายนอก การสร้างเงินทุนภายในเกิดขึ้นได้จากค่าหุ้นเงินฝาก หากยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดสายกลาง พอประมาณ ก็เห็นว่าสหกรณ์ควรจัดการเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่เท่ากันกับสถาบันการเงินทั่วไปเงินจากการจัดสรรกำไรสุทธิ ควรจัดสรรเป็นเงินสำรองให้มากกว่าร้อยละ 10 ส่วนจะมากเท่าใดขึ้นอยู่สภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกหากสามารถทำได้ดังกล่าวสหกรณ์จะมีความมั่นคงมาก ทั้งนี้ต้องยึดความพอดี ความพอประมาณ ไม่เร่งรัดการสะสมจนมากเกินไป ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเนิ่นนานเกินไป ต้องเป็นสายกลางยึดเหตุยึดผลตามพละกำลัง
เปรียบเทียบการจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสร้างเงินทุนภายในให้มากกว่าหรือเท่ากับเงินทุนภายนอกตามตาราง
ลำดับ | รายการเงินทุนสหกรณ์ | ทุนภายใน | ทุนภายนอก |
---|---|---|---|
1 | ค่าหุ้น | / | - |
2 | เงินรับฝาก | / | - |
3 | จัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินสำรอง | / | - |
5 | เงินรับบริจาค | - | / |
6 | ระดับความมั่นคง | ||
7 | ไม่มั่นคง | ต่ำกว่าร้อยละ 50 | สูงกว่าร้อยละ 50 |
8 | มั่นคงน้อย | ร้อยละ 50 | ร้อยละ 50 |
9 | มั่นคงปานกลาง | ร้อยละ 50 - 60 | ร้อยละ 40 -50 |
10 | มั่นคงมาก | ร้อยละ 60 - 80 | ร้อยละ 20 - 40 |
11 | มั่นคงมากที่สุด | สูงกว่าร้อยละ 80 | ต่ำกว่าร้อยละ 20 |
การจัดการโครงสร้างสหกรณ์
โครงสร้างสหกรณ์กำหนดให้มีบุคลากร คือ สมาชิก คณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ และบุคลากรราชการองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดการโครงสร้างสหกรณ์ได้ระบุบทบาทหน้าที่ ที่มาของคณะบุคคลแต่ละกลุ่มไว้ เมื่อนำมาจัดการด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะได้โครงสร้างตามแผนงาน

ผังบุคคลากรแบบเศรษฐิจพอเพียง
การนำเสนอโครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ สามารถแก้ไขสภาพปัญหาเดิมอันเป็นปัญหาหลักของสหกรณ์ได้ คือ
- ปัญหาความไม่ร่วมมือ
- ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่
- ปัญหาคนขาดคุณภาพ
- ปัญหาการดำเนินงานขาดประสิทธิภาพและ
- ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
ตารางสรุปปัญหาเดิมที่เป็นปัญหาหลักของสหกรณ์
การแก้ไขสภาพปัญหาเดิมด้วยการจัดการโครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | ||
---|---|---|
ลำดับ | สภาพปัญหาเดิม | การแก้ปัญหาด้านโครงสร้างสหกรณ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
1 | ความไม่ร่วมมือ | คัดคนที่มีลักษณะยืนได้และพึ่งพาตนเองได้เป็นสมาชิก |
2 | ไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ | คัดคนที่มีคุณธรรมเสียสละ ซื่อสัตย์ เป็นคณะกรรมการดำเนินการ คัดคนขยัน ซื้อสัตย์ มีความรอบรู้ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ พัฒนาคนในสหกรณ์สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
3 | การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ | กำหนดนโยบายจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ มุ่งสร้างความเป็นอยู่แบบพอดี สร้างสังคมดี ตรวจสอบให้สหกรณ์ดำเนินงานตามนโยบาย ธุรกิจ กิจการ มีเป้าหมาย สังคมดี เศรษฐกิจดี มีการร่วมมือกัน |
การจัดการธุรกิจสหกรณ์
การจัดการธุรกิจสหกรณ์บนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องยึดตามความหมายของปรัชญาที่ให้มีความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมคุ้มกันตัวเอง ด้วยเงื่อนไขการมีความรู้ความรอบคอบ จึงหมายถึงการทำให้สหกรณ์มีธุรกิจที่เหมาะสม ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมั่นคง
โดยสามารถนำปรัชญาลงสู่การจัดการธุรกิจสหกรณ์ในแต่ละขั้นตอน คือ
- ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจข้อมูลสมาชิก ที่ยึดมั่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต
- ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจความต้องการร่วมธุรกิจ เป็นข้อมูลที่พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ดำเนินงานอย่างมีเหตุมีผล
- ขั้นตอนที่ 3 ทำความเข้าใจการร่วมธุรกิจ ขั้นตอนนี้ใช้หลักปรัชญาบนเงื่อนไข ความรอบรู้ ความระมัดระวังในการตัดสินใจ
- ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินธุรกิจ สหกรณ์ตัดสินใจดำเนินธุรกิจบริการสมาชิกตามความเหมาะสม พอประมาณ มีเหตุมีผล ให้สมาชิกมีความมั่นคง เข้มแข็ง ใครควรได้รับบริการธุรกิจใดปริมาณเท่าใด ระยะเวลาใด ในอัตราใด ที่จะทำให้ชีวิตของสมาชิกยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองได้การให้บริการธุรกิจนอกจากต้องความเสมอภาคเป็นธรรมแล้วการให้บริการต้องเต็มไปด้วยจิตบริการความขยัน ความซื่อสัตย์ ที่สำคัญต้องเสริมให้บุคคลที่ไม่ยึดมั่นในปรัชญาพัฒนา
- ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลธุรกิจ สามารถนำมาใช้เพื่อวัดผลใน 2 เป้าหมาย คือ ดูผลที่สมาชิกกับดูผลที่ตัวองค์กรคือสหกรณ์

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง