Home ศึกษาหาความรู้ หลักการสหกรณ์สากลและธรรมาภิบาล

หลักการสหกรณ์สากลและธรรมาภิบาล

หลักการสหกรณ์สากลและหลักธรรมาภิบาล

by cmpccoop

หลักการสหกรณ์สากล


หลักการสหกรณ์  หมายถึง  แนวทางสำหรับสหกรณ์ต่างๆ  ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่าหลักการของสหกรณ์นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์  โดยมีหลักการพื้นฐานเดิมจากหลักของผู้นำแห่งรอชเดล  แล้วจึงปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ได้มีการประกาศให้สหกรณ์ทุกประเทศถือใช้โดยทั่วกันมีอยู่ 7 ประการ ซึ่งหลักการสหกรณ์เป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์ต่าง ๆ ในการนำค่านิยมของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งค่านิยมสหกรณ์ ตามที่ ICA ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานก็ คือ ค่านิยมพื้นฐานของสหกรณ์ ได้แก่ การพึ่งพาและความรับผิดชอบตนเอง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคี และสมาชิกสหกรณ์ตั้งมั่นอยู่ในค่านิยมทางจริยธรรมแห่งความซื่อสัตย์ เปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และเอื้ออาทรต่อผู้อื่นตามแบบแผนที่สืบทอดมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์


หลักการที่ 1 การเปิดรับสมาชิกโดยทั่วไปตามความสมัครใจ

สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา

1st Principle : Voluntary and Open Membership

Co-operatives are voluntary organizations, open to all persons able to use their services and willing to accept the responsibilities of membership, without gen­der, social, racial, political, or religious discrimination.

หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามแนวทางประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อ มวลสมาชิกในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน

2 nd Principle : Democratic Member Control

Co-operative are democratic organizations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) , and co-operative at other levels are also organized in a democratic manner.

หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อ การพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องไม่นำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

3 rd Principle : Member Economic Participation

Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes : developing their co-operative, possibly by setting up re­serves, part of which at least would be undivided; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.

หลักการที่ 4 มีการปกครองตนเองและมีอิสระ

สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาตนเองและปกครองตนเอง โดยมีการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์ จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่นๆ รวมถึง องค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

4 th Principle : Autonomy and Independence

Co-operatives are autonomous, self-help organization controlled by their members. If they enter into agreements with other organizations, including gov­ernments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.

หลักการที่ 5 การให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร

สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการและพนักงาน เพื่อบุคลากรเหล่านั้น สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสารแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

5 th Principle : Education, Training and Information

Co-operatives provide education and training for their members, elected rep­resentatives, managers, and employees so they can contribute effectively to the development of their co-operatives. They inform the general public – particularly young people and opinion leaders – about the nature and benefits of co-operation.

หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์

สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

6 th Principle : Co-operation Among Co-operatives

Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co–operative movement by working together through local , national, regional, and international structures.

หลักการที่ 7 ความห่วงใยต่อชุมชน

สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ

7 th Principle : Concern for Community

Co-operatives work for the sustainable development of their communities through policies approved by their members.

 


ที่มา

หลักธรรมาภิบาลสหกรณ์

การกำกับดูแลองค์กรที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ในการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานของสหกรณ์ฯ ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากผู้เกี่ยวข้อง ที่สำคัญยิ่งคือความศรัทธาจากสมาชิกและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม

การบริหารจัดการองค์กรที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย:

1) หลักนิติธรรม หมายถึง สหกรณ์ได้กำหนดข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมของทุกฝ่ายในสหกรณ์ และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม

2) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นความถูกต้องดีงาม ทุกฝ่ายในสหกรณ์ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเสมอภาค ประพฤติปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณที่ร่วมกันกำหนด และส่งเสริมสนับสนุนยกย่องผู้กระทำความดี รวมถึงการส่งเสริมให้มีการพัฒนาทุกฝ่ายในสหกรณ์อย่างเท่าเทียมกัน

3) หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยพัฒนาวิธีการดำเนินงานของสหกรณ์ที่โปร่งใส กำหนดขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ รวมถึงการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรทำให้เกิดความโปร่งใสกับสังคมภายนอก

4) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง สหกรณ์เปิดโอกาสให้สมาชิก กรรมการ และฝ่ายจัดการมีส่วนในการร่วมรับรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจทั้งในด้านการบริหารการจัดการและการพัฒนาสหกรณ์เพื่อสร้างสรรค์และจรรโลงความผาสุกของส่วนรวม รวมถึงร่วมรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ด้วย

5) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การที่ทุกฝ่ายในสหกรณ์ตระหนักในสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลจากการกระทำของตน ตลอดจนเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้มีส่วนร่วมในสหกรณ์ รวมทั้งไม่เพิกเฉยต่อปัญหาสาธารณะและการช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อสังคม

6) หลักความคุ้มค่า หมายถึง สหกรณ์มีการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีระบบการควบคุมภายในที่ดี มีกิจกรรมหรือแผนงานที่ส่งเสริม สนับสนุน การประหยัดลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ส่งเสริมระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกฝ่ายในสหกรณ์ หรือสังคมภายนอก

 ธรรมาภิบาลในสหกรณ์ หมายถึง การบริหารกิจการของสหกรณ์ให้เป็นไปอย่างซื่อสัตย์ โปร่งใสมีความรับผิดชอบ สร้างการมีส่วนร่วม และมีการใช้กระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล คุ้มค่า และโดยประหยัด เป็นผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินงานประสบความสำเร็จวัตถุประสงค์อย่างมั่นคง ส่งผลให้สหกรณ์เป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ความจำเป็นที่ต้องนำธรรมาภิบาลมาใช้ในสหกรณ์

ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ทุนเป็นปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตของธุรกิจ แต่ถ้าธุรกิจนั้นจะอาศัยเพียงทุนของตนเองเพียงอย่างเดียวก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งกับธุรกิจอื่นได้ ต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจากภายนอกด้วย ได้แก่สถาบันการเงินและตลาดทุน แต่การจะเข้าถึงแหล่งทุนภายนอกได้ธุรกิจนั้นจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ลงทุนหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมว่าหุ้นที่ลงทุนหรือเงินที่ให้กู้ยืม จะไม่สูญหายและได้ผลตอบแทนคุ้มค่า

สหกรณ์เป็นธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ก็ต้องได้รับความเชื่อถือจากสมาชิกและผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญเพราะถ้าขาด “ความเชื่อถือ” การดำเนินธุรกิจคงประสบปัญหาและล้มลงในที่สุด ส่วนความเชื่อถือ จะสร้างได้อย่างไรนั้น คำตอบสั้นที่สุดคือ สหกรณ์ต้องมี “ธรรมาภิบาล” ในการประกอบธุรกิจ เพราะการที่สหกรณ์ประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จะช่วยให้สหกรณ์สามารถดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลดีกับมวลสมาชิก

ประโยชน์ที่สหกรณ์ได้รับจากการมีธรรมาภิบาล

เมื่อสหกรณ์ยึดถือ “ธรรมาภิบาล” ในการดำเนินธุรกิจ ผลที่ได้รับกลับมา คือ “ความเชื่อถือ” จากสมาชิกสหกรณ์ ประชาชนทั่วไป สถาบันการเงิน สังคม และคู่ค้า ฯลฯ เพราะทุกส่วนที่มีส่วนได้เสียย่อมต้องการให้สหกรณ์ค้าขายด้วยมีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม มีจริยธรรม คุณธรรม สินค้า ที่ผลิตเป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ค้ากำไรเกินควร และไม่เอาเปรียบต่อสมาชิกและประชาชนทั่วไปการดำเนินการลักษณะนี้สหกรณ์จะเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เชื่อถือของคู่ค้าและสมาชิกสหกรณ์ สหกรณ์สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามวิกฤต และในยามปกติ รวมทั้งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ไม่ว่าสถาบันการเงินใดต้องการให้สินเชื่อ และให้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกลง เพราะปล่อยสินเชื่อให้แล้วปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญ เนื่องจากสหกรณ์มีความรับผิดชอบและธุรกิจดำเนินไปด้วยดี ผลที่ได้รับกลับมาของสหกรณ์ พอสรุปได้ดังนี้

1. เพิ่มความน่าเชื่อถือของกิจการสหกรณ์

สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือมีธรรมาภิบาล จะมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่สนองความคาดหวังหรือความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล จะส่งผลให้สหกรณ์ได้รับความเชื่อถือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (สมาชิก,ประชาชนทั่วไป คู่ค้า,สถาบันการเงิน)

2. ความสามารถระดมทุนและเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย

สถาบันการเงินและแหล่งทุนต่างๆ จะให้ความเชื่อมั่นกับสหกรณ์ ที่มีธรรมาภิบาล และพร้อมจะให้การสนับสนุนด้วย เพราะความน่าเชื่อถือที่สหกรณ์สั่งสมไว้ จะทำให้ผู้ให้การสนับสนุนมั่นใจว่าเงินที่ให้กู้ยืมจะไม่สูญหาย

 3. มีเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่ดี มีความสามารถ และรักองค์กร

ตามหลักธรรมาภิบาล สหกรณ์ที่มีนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ จะทำให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์รักองค์กร และสามารถดึงดูดบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถให้ความสนใจเข้ามาร่วมงานกับองค์กรตลอดไป

4. เพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสหกรณ์

สหกรณ์ที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อสมาชิก ตระหนักและให้ความสำคัญต่อความพึงพอใจของสมาชิกเป็นหลัก ด้วยการผลิตสินค้าหรือให้บริการแก่สมาชิกโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความคุ้มค่าที่สมาชิกจะได้รับจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ อันจะนำไปสู่การเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกและการขยายธุรกิจในอนาคต

5. เพิ่มโอกาสในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

สหกรณ์ที่มีระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่มีความซื่อสัตย์ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพส่งผลให้สหกรณ์ได้รับความเชื่อถือ ผู้มีส่วนได้เสีย (สมาชิก,ประชาชนทั่วไป,คู่ค้า,สถาบันการเงิน) และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ อยากให้การสนับสนุนและให้การตอบสนองที่ดี เป็นโอกาส ที่จะทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและนำกิจการไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

6. การยอมรับของสังคมในการดำเนินธุรกิจ

ความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวมของสหกรณ์ที่ผู้มีส่วนได้เสีย (สมาชิก,ประชาชนทั่วไป,คู่ค้า,สถานบันการเงิน) ความคาดหวังหรือรับรู้ มีผลอย่างมากต่อการยอมรับของสังคมและการเติบโตของสหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ ในทางตรงกันข้ามสหกรณ์ที่จะละเลย ไม่เอาใจใส่ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะถูกต่อต้านหรือมีความขัดแย้งกับสังคมและส่วนรวมแล้วหากสหกรณ์ประสบภาวะวิกฤตร้ายแรง โอกาสที่จะได้รับความเห็นใจ การให้อภัย หรือโอกาส ในการแก้ตัวจากชุมชนและสังคม คงเป็นเรื่องที่คาดหวังได้ยาก

 7. เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่สหกรณ์

ท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในยุคโลกาภิวัตน์ มีโอกาสสูงมากที่จะนำการไปสู่ความเสี่ยงใหม่ ๆ ซึ่งยากจะคาดเดา การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือมีธรรมาภิบาล มาตรการเหล่านี้จะช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่สหกรณ์และลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจให้น้อยลง

Related Posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00