Home รู้จักจังหวัดชลบุรี ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

by cmpccoop

ประเพณีวิ่งควาย


เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ
  • เชื่อกันว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายมากผิดปกติ
  • นอกจากนี้ควายที่เจ็บป่วยระหว่างปี เจ้าของควายก็จะบนบานให้หายแล้วนำมาร่วมในประเพณีนี้ด้วย
  • คนไทยโบราณเป็นคนที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูกตเวทิตา และมีเมตตาธรรม หลังจากได้ใช้ควายไถนาและทำงานในท้องนาอย่างเหน็ดเหนื่อยมาหลายเดือน เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ คํ่า เดือน ๑๑ ก็จะตกแต่งควายของตนให้สวยงามด้วยผ้าแพร และลูกปัด เพื่อเป็นการทำขวัญควาย
  • แล้วหยุดงานในนานำควายเข้าเมือง มีการพบปะ เลี้ยงดู ร่วมกับบรรดาชาวนาผู้ร่วมอาชีพ
  • ตลอดจนประกวดความสมบูรณ์ สวยงามของควายที่ตกแต่งมา นับเป็นการสนองคุณของควายให้มีความสุขตามอัตภาพและได้พักผ่อนจากงานหนักในท้องนา
  • การเลือกวัน ๑๔ คํ่า เพราะเป็นวันโกนก่อนออกพรรษา จึงตกแต่งควายดังกล่าวข้างต้น แล้วเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง และผลิตผลอื่น ๆ มาขายคนเมือง ขากลับก็ซื้อข้าวของไปทำบุญเลี้ยงพระในวันพระ ขึ้น ๑๕ คํ่า และวันออกพรรษา แรม ๑ คํ่า คนโบราณถือว่าวันพระต้องทำบุญ และให้ควายได้หยุดงานพักผ่อน อีกกระแสหนึ่งในวันออกพรรษานั้น วัดใหญ่อินทาราม ซึ่งเป็นวัดสำคัญของชลบุรีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย จะจัดให้มีการเทศน์มหาชาติ ชาวนาจึงตกแต่งประดับประดาควายและเกวียนบรรทุกกัณฑ์เทศน์มาที่วัด ตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ คํ่า ในอดีตที่วัดใหญ่อินทารามมีหนองนํ้าใหญ่ ชาวนาที่มาพักแรมที่วัดจะพาควายไปอาบนํ้า เมื่อได้พบกันก็เกิดการแข่งขันกันว่าควายของใครจะแข็งแรงสมบูรณ์มากกว่างเกิดการวิ่งแข่งควายขึ้น

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่งสำหรับประเพณีวิ่งควายของชาวชลบุรี ก็คือ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี คือ พระยาวิเศษฤาไชยได้จัดวิ่งควายถวายทอดพระเนตรที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี
ดังหลักฐานปรากฏในพระราชกิจรายวัน กรมราชเลขาธิการได้บันทึกไว้ปัจจุบันเทศบาลเมืองชลบุรี กำหนดจัดประเพณีวิ่งควายในวันขึ้น ๑๔ คํ่า เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง จัดในช่วงวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ในวันกำหนดนัดหมาย ชาวนาจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรไหมพรม กระดาษ ดอกไม้สีต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นสีสันสดใส เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว โดยมักจะตกแต่งที่เขา หน้าผาก คอ ข้อเท้า และเชือกสนสะพาย แม้เจ้าของควายก็อาจแต่งกายให้ดูแปลกตา เป็นที่น่าสนใจ เวลาเช้า จะจัดขบวนควายที่มีคนขี่บนหลังเป็นแถวเดินไปตามท้องถนนเป็นการแสดงตัวให้ผู้คนได้เห็น และเกิดความสนใจ

การแสดงตัวให้ผู้คนได้เห็น และเกิดความสนใจเวลาบ่าย จึงมาพร้อมกัน ณ สถานที่นัดหมาย เช่นที่ เทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดงานในบริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด มีการกำหนดเส้นเริ่มออกวิ่งและเส้นชัย ควายที่แข่งขันจะยืนที่เส้นเริ่มออกวิ่ง มีเจ้าของขี่อยู่บนหลัง เมื่อได้รับสัญญาณก็ออกวิ่ง ควายตัวใดเข้าเส้นชัยก่อนถือเป็นผู้ชนะ ความสนุกจะอยู่ที่ท่าวิ่งของควายที่ดูแปลกตา บางคราวคนขี่ก็ลื่นตกลงมาจากหลังควาย และผู้ชมที่มีจำนวนมากจะส่งเสียงเชียร์ดังอื้ออึง การแข่งวิ่งควายเป็นการแข่งขันที่ไม่ได้มุ่งแพ้ชนะเป็นสำคัญ เพราะควายไม่ใช่สัตว์ที่ได้รับการฝึกให้วิ่งแข่ง แต่การได้เข้าร่วมประเพณีและความสนุกสนานเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบันนอกจากการวิ่งแข่งควายแล้ว ยังมีประกวดสุขภาพควายและประกวดการตกแต่งควายประเภทสวยงาม และตลกขบขันอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก วัฒนธรรมจัวหวัดชลบุรี  https://www.m-culture.go.th/chonburi/

Related Posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00