รายละเอียด
ความเป็นมา
- ต้นเนียมหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobilanthes nivea Bremek ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
- ชื่อสามัญ : เนียมหอม (ชื่อเรียกอื่นๆ มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่ละท้องถิ่น เช่น “น้ำหอมพระราม” , “ใบเหล้าวอด”, “เนียมอ้ม”, “เนียมข้าวเม่า” เป็นต้น)
ต้นเนียมหอมจะมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตยแต่จะหอมมากกว่า 10 เท่า สมัยก่อนต้นเนียมหอมจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางเครื่องหอมเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์กลิ่นน้ำหอมเลียนแบบกลิ่นธรรมชาติ ทำให้เนียมหอมถูกลดความนิยมลงเรื่อย ๆ แต่ก็ยังมีการนำมาใช้ดองเหล้าในกลุ่มคนที่ชอบร่ำสุรา เพราะใบเนียมหอมสามารถทำให้เหล้าแรงๆ ที่ว่ากินยากๆ กลายเป็นเหล้าที่นุ่มคอ หอม ไม่แพ้เหล้านอกราคาแพงเลย
สูตรดองเหล้า ให้เด็ดเอาใบเนียมหอมสดๆ มาประมาณ 3-4 ใบ แล้วนำมาลนไฟให้มีกลิ่น จากนั้นก็ใส่ลงไว้ในขวดเหล้าดองไว้สัก 1 คืน
และยังพบว่าในสมัยโบราณมีการนำใบเนียมมาผสมกับปูนกินหมากอีกด้วย ใบเนียมหอมสดให้กลิ่นหอมสดชื่น สามารถนำมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการหวัด อาการไอ หรืออาการหอบหืดได้ด้วย ส่วนใบเนียมแห้ง ก็จะเอาไปเป็นส่วนผสมของยานัตถุ์ได้
ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่อาจไม่รู้จักหรือที่รู้จักแล้วก็มองข้ามประโยชน์ของสมุนไพรที่มีประวัติยาวนาน เราเป็นคนไทยมีหน้าที่อนุรักษ์ไม่ให้ไม้เหล่านี้สูญหายไป เนียมหอมพืชสมุนไพรโบราณน่าอนุรักษ์เป็นพืชพันธ์ที่พบเฉพาะในเมืองไทย มีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่ม ชอบน้ำแต่ไม่ชอบแสงแดด ใบเนียมหอมเก็บในรถให้กลิ่นหอมละมุน คนโบราณนำใบมามาลนไฟแล้วเก็บติดกระเป๋าเสื้อใช้แทนน้ำหอม สรรพคุณกลิ่นหอมละมุนของอ้มลดอัตราการเต้นของหัวใจคลายเครียด บำรุงหัวใจ แก้หอบหืด
การใช้ประโยชน์จากใบเนียม
- ใบนำมาชงเป็นชาเครื่องดื่ม ใช้แก้หวัดและบรรเทาอาการหอบหืด โดยให้ทานใบเนียมหอมสด หรือนำใบตากแห้งมาชงเป็นชาก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
- 2. ใช้ดองเหล้า เพราะเนียมจะช่วยทำให้เหล้ามีรสละมุนขึ้น ทานง่ายขึ้น แต่ดีกรีความแรงยังคงอยู่ เหมาะสำหรับใช้กับ เหล้าแดง , เหล้าราคาถูก หรือเหล้าที่มีกลิ่นฉุน ๆ เพราะจะทำให้เหล้าที่กลิ่นแรงๆ (ภาษาเหนือเรียก ใส่ข่า) กลับกลายเป็นเหล้ารสละมุนขึ้นมาได้เลย และยังทำให้ลมหายใจของคนที่กินเหล้าเข้าไปไม่เหม็น (ภาษาเหนือเรียกว่า เหม็นขี้ห่าเหล้า) โดยลมหายใจจะเป็นกลิ่นเนียมโชยมาแทน
วิธีดอง : ก็เพียงเอาใบเนียมสัก 2-3 ใบ ต่อเหล้า 1 แบน (ถ้า 1 กลม ก็สัก 4-6 ใบ) มานาบไฟหรือลนไฟเล็กน้อย จากนั้นก็แช่ลงไปในขวดเหล้า ทิ้งไว้เพียง 1-2 คืน ก็นำมาทานได้ครับโดยจะกินเพียว หรือผสมโซดาก็ได้
- ใช้เพิ่มกลิ่นหอมในห้อง แค่ใช้ใบเนียม 2-3 ใบ วางไว้ใต้หมอน หรือวางไว้ในตู้เสื้อผ้า ก็จะได้กลิ่นหอมโชยมาเรื่อย ๆ ทำให้หลับสบายขึ้น (กลิ่นเนียมจะไม่ฉุน แต่จะหอมโชยเป็นระลอก ๆ) ซื่งสมุนไพรตัวนี้จะส่งกลิ่นได้หลายวันทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนใบบ่อย ๆ ซื่งคุณสมบัตินี้เองทำให้คนสมัยก่อนนำไปปรุงเป็นเครื่องหอม น้ำหอม น้ำอบ
- ใช้แก้หวัดและบรรเทาอาการหอบหืด โดยให้ทานใบเนียมหอมสด หรือนำใบตากแห้งมาชงเป็นชาก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ .
- ใช้อบในกระป๋องยาเส้น โดยจะทำให้ยาเส้นหอมกรุ่นขึ้นเวลาสูบ
- ใช้ปรุงยานัตถ์ โดยนำปรุงเป็นยานัตถ์ เพื่อให้ความหอม
- ใช้กินหมาก คนสมัยก่อนตอนกินหมาก จะเคี้ยวใบเนียมไปด้วยเพื่อให้เกิดความสดชื่นหอมกรุ่นในปาก และเพื่อลดกลิ่นแรงๆของใบพลู
- ใช้ประดับตกแต่งสวน แต่งบ้าน ต้นเนียมเวลาที่รดน้ำ หรือเวลาที่มีน้ำ หรือน้ำฝนมากระทบใบ หรือเวลาปลูกเยอะๆแล้วลดพัดใบกระทบกัน จะส่งกลิ่นหอมออกมา ดังนั้นถ้าเอาไปตกแต่งบริเวณน้ำตกเทียม หรือตามสวน จะให้ทั้งความสวยงามและความหอมสดชื่น
ใบอ้มพืชสมุนไพรหลากหลายสรรพคุณ
อ้ม หรือ เนียมอ้ม ชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino เป็นพืชในวงศ์ Chloranthaceae เป็นพืชพื้นเมืองของจีน แต่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากความหอมที่เป็นคุณสมบัติเด่นแล้ว อ้มสามารถนำใบและดอกนำมาชงเป็นน้ำชาแก้ไอ ใบสามารถตำพอกรักษาฝีและแผลที่เกิดจากน้ำร้อนลวก ส่วนรากรับประทานในขนาดที่พอดีตามตำรายาสามารถแก้มาลาเรียได้แต่หากรับประทานเกินขนาดมากไปจะเป็นพิษ
ชาวอีสานในอดีตใช้อ้มกันอย่างหลากหลาย เช่น นำมาผสมกับน้ำทาผมช่วยให้ผมดำเงา และซอยใบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่รวมกับเต้าปูนจะช่วยให้ปากหอม สูตรนี้ผู้สูงวัยนิยมกันเป็นอย่างมาก ส่วนในมุมมองจากกลุ่มผู้ชายใบอ้มลนไฟแช่ไว้ในไหเหล้าของคนสมัยก่อนหอมหวานจนลืมเมากันเลยทีเดียว รวมถึงยังนำไปอบทำยาสูบลดกลิ่นฉุนให้หอมนุ่มนวลขึ้นมาทันที