พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“…คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้…” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่ เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
- ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
- ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
- ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
จึงนำมาซึ่งการจัดตั้ง “สหกรณ์บริการ ส่งเสริมอาชีพและวัฒนธรรมชลบุรี จำกัด” เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมประชาชนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทั้งอาชีพด้านการเกษตร การบริการ การค้าขาย ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนเมืองอุตสาหกรรม หรือพื้นที่จังหวัดชลบุรี ได้เป็นอย่างดี และสามารถที่จะเจริญเติบโต มั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต.
ที่ประกอบไปด้วย เกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า เจ้าของกิจการ และประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งที่อยู่อาศัยในจังหวัดชลบุรี
โดยก่อนหน้านี้ได้พบเจอปัญหาจากพี่น้องประชาชนในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรและบริการหลาย ๆ ปัญหา อาทิ เช่น
- ปัญหาด้านราคาพืชผลการเกษตร ในการขายสินค้าที่มักได้ราคาถูกและโดนกดราคาจากคนที่มารับซื้อ
- ปัญหาด้านความรู้ในการแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพ เช่น เมื่อเกิดโรคที่เป็นกับพืช ไม่รู้วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและทันท่วงที ทำให้ปัญหาลุกลามมีผลเสียหายต่อพืชชนิดนั้นอย่างรุนแรง รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานั้น ๆ ซ้ำอีก
- ปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จะประกอบอาชีพ เช่น บางคนมีที่ดินแต่เป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ วันหนึ่งพอจะทำเกษตรปลูกพืชพักหรือเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นอาชีพอีกทางหนึ่ง ก็ไม่มีเงินลงทุนที่มากพอกับธุรกิจนั้น ๆ ทำให้ไม่สามารถทำได้ หรือบางทีต้องการแก้ปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการทำเกษตร ก็ไม่มีแหล่งเงินทุนรองรับ สุดท้ายทำให้ต้องเลิกกิจการหรือไปทำอาชีพอื่น ๆ แทน หรือ บางท่านต้องการขยายพื้นที่การทำเกษตร เพราะมีกำไรดี ก็หาแหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุนได้อย่างจำกัดเพราะไม่เข้าเงื่อนไขที่ธนาคารหรือแหล่งเงินกำหนดไว้
- ปัญหาด้านการตลาด ไม่มีช่องทางการตลาดที่จะขายสินค้าหรือจำหน่ายสินค้าได้
- ขาดความรู้ในการขอการรับรองคุณภาพสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จากหน่วยงานรับรองคุณภาพที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับรองแปลงผักปลอดสารพิษ หรือ สินค้าเกษตรแปรรูปต้องมีหน่วยงานด้านอาหารรับรอง เป็นต้น
- ปัญหาด้านการจัดทำสรุปโครงการที่เป็นรูปธรรม เพื่อประกอบการขยายกิจการ หรือเริ่มธุรกิจ เนื่องจากไม่มีความรู้และบุคคลากรที่เชี่ยวชาญโดยตรง
- ปัญหาด้านการวิเคาะห์ผลประกอบการ การประเมินผลประกอบการ การวางแผนระยะยาว มีผลทำให้ขาดความชัดเจนที่จะดำเนินการ
และเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่ สหกรณ์ส่งเสริมอาชีพและวัฒนธรรมชลบุรี จำกัด จะเป็นส่วนหนึ่งและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้กับสมาชิกที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นำมาซึ่งความมั่นคง ยั่งยืน ในอนาคตต่อไป..
ท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับสหกรณ์ฯ สามารถติดต่อได้ที่
- สหกรณ์บริการ ส่งเสริมอาชีพและวัฒนธรรมชลบุรี จำกัด
- Adress: 18/7 หมู่ 7 ต.หนองรี อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
- Phone: 09 7997 3138
- เว็บไซต์: http://cmpccoop.com
- Email: admin@cmpccoop.com
- ในเวลาราชการ
วัตถุประสงค์สหกรณ์ฯ ตามข้อบังคับสหกรณ์ฯ หมวด 2 ข้อ 2. รายละเอียดดังนี้
ข้อ 2. วัตถุประสงค์ สหกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
- ให้บริการทั่วไปแก่สมาชิกในด้านสุขอนามัยของชุมชน อันได้แก่ การดูแลรักษาความสะอาดในชุมชน การเก็บขยะ การรักษาความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัย
- การให้บริการสาธารณะ อาทิเช่น ให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ผู้ขับขี่รับจ้างต้องผ่านการอบรมจากสหกรณ์ บริการสถานที่จอดรถ จัดให้มีธนาคารขยะ
- จัดให้มีร้านค้าชุมชน เพื่อให้สมาชิกได้ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม
- ให้บริการร้านค้าตลาดชุมชนแก่สมาชิกที่ประสงค์จะค้าขาย
- จัดหาทุนและบริการสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ
- จัดหาวัตถุดิบในการผลิต เทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตและบริการ รวมทั้งสิ่งของอย่างอื่นที่สมาชิกมีความต้องการมาจำหน่ายแก่สมาชิก
- ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
- ร่วมมือกับสหกรณ์อื่น ชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย องค์กรชุมชน ภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐ เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์
- ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและชุมชน