ฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psidium guajava Linn.) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ฝรั่งเป็นพืชที่มีจุดกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและหมู่เกาะเวสต์อินดีส หลักฐานทางโบราณคดีในเปรูชี้ให้เห็นว่า มีฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้ไปยังถิ่นต่าง ๆ ทั่วโลก เข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนในประเทศไทย คาดว่าเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษ คือ Guava ซึ่งมาจากภาษาสเปน คำว่า Guayaba และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba ฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ ย่าหมู (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ตรัง, ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ หรือ ย่าหมู หรือ ย่าหวัน[2] (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส)
ที่มาของฝรั่งพันธ์ุ “หนองข้างคอก”
ฝรั่งหนองข้างคอก ไม่ใช่ฝรั่งพันธุ์หนองข้างคอกแต่อย่างใด หากเป็นชื่อตำบลหนองข้างคอก อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองชลบุรี มีการปลูกฝรั่งมายาวนานหลายสิบปี พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ กิมจูและกลมสาลี่
ปัจจุบันเกษตรกรรวมกลุ่มเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ฝรั่งหนองข้างคอก มีสมาชิก 39 ราย โดยล่าสุดประมาณต้นปี 2563 สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันส่งเสริมและจัดทำข้อมูลเตรียมคำขอขึ้นทะเบียน “ฝรั่งหนองข้างคอก” สู่สินค้า GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยคุณภาพหรือเอกลักษณ์ของสินค้านั้น เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่น ที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า ดังนั้น การขึ้นทะเบียนเพื่อให้เป็นสินค้า GI จึงช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร และยังสามารถพัฒนาพื้นที่ผลิตสินค้า GI ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น ซึ่งจะนำรายได้มาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย (ที่มา : สำนักเกษตรจังหวัดชลบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ต้นเกลี้ยงมัน เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้น ๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
สูตรการปลูกฝรั่งกิมจูแบบอินทรีย์ แบบที่ 1
เริ่มจากเตรียมแปลงปลูกต้องขุดหลุมลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ใส่ขี้เป็ดหมักและแกลบ ใส่ลงในหลุมปลูก ประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อหลุม ในอัตรา 2:1 ขณะเดียวกันปุ๋ยดังกล่าวใช้ใส่ในนาข้าวด้วย ช่วยให้ข้าวมีคุณภาพ ต้นข้าวเขียว เมล็ดสวย ซึ่งขี้เป็ดที่เหลือก็นำมาใส่ต้นฝรั่งและไม้ชนิดอื่นๆ ทำให้ได้คุณภาพเช่นเดียวกัน
หลังจากนำต้นฝรั่งลงปลูกแล้ว ยังไม่ต้องบำรุงอะไร ให้รดน้ำทุก 7-10 วัน รดให้ชุ่ม อย่าให้น้ำขัง ในระหว่างที่ต้นฝรั่งเจริญเติบโตอาจจะพบแมลงศัตรูมารบกวน โดยเฉพาะเพลี้ยแป้ง จึงต้องฉีดพ่นด้วยสารชีวภาพในกลุ่มสมุนไพรผสมกับปุ๋ยน้ำเพื่อฉีดพ่นทรงพุ่มทุกสัปดาห์
ทั้งนี้หากพบว่า มีจำนวนมากเกรงจะรับมือไม่ไหว ก็จะต้องฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น หรือถ้าหากยังดื้อยาอีก คงต้องปราบด้วยน้ำขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติเป็นด่างมาใช้ฉีดควบคู่ไปด้วย ส่วนแมลงศัตรูที่เจอ คือ แมลงวันทอง หาวิธีกำจัดด้วยการล่อให้มาลงในกระป๋อง แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปใช้วิธีนำยากำจัดมาวางไว้ที่พื้นเพื่อให้แมลงมากิน ซึ่งได้ผลดีมาก ช่วยทำให้แมลงลดลงจนแทบไม่เจอ
ห่อแล้วตัดแต่ง ยิ่งตัด ยิ่งดก
เมื่ออายุต้นประมาณ 7-8 เดือน เริ่มมีดอก จะตัดทิ้งก่อน เพราะหากปล่อยไว้เป็นผลอาจทำให้ต้นฝรั่งที่ยังมีขนาดเล็กอยู่ต้องแบกรับน้ำหนัก แล้วทำให้กิ่ง ก้าน ฉีกขาด อีกทั้งยังอาจทำให้ต้นโทรมเร็ว ควรรอให้ต้นมีอายุประมาณ 1 ปี จึงเริ่มเก็บดอก เพราะเป็นช่วงที่ต้นและกิ่ง ก้าน อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งจำนวนที่เหมาะคือ 3-7 ผล แต่หากเจอผลที่สวยสมบูรณ์มาก จะต้องรีบห่อแล้วนำไม้มาค้ำยันไว้
ฝรั่งเริ่มห่อผลเมื่อมีขนาดเท่ามะนาว ใช้กระดาษที่ห่อผลไม้โดยเฉพาะเท่านั้น เพื่อให้ผลมีความสวยและปลอดภัย หลังจากห่อผลแล้วต้องหมั่นรดน้ำทุกสัปดาห์ ไปพร้อมกับการฉีดพ่นยา ใส่สารชีวภาพ ปุ๋ยน้ำหมัก ไม่ควรปล่อยให้ขาดน้ำ ขณะเดียวกันทุกเดือนต้องใส่ปุ๋ยคอกที่หมักไว้ ต้นละ 20 ลิตร ควรใส่ระหว่างรดน้ำเพื่อคลุกเคล้าปุ๋ยคอกไปด้วยกัน อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยคอกหมักอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ต้นฝรั่งสะสมอาหาร ทำให้เพิ่มคุณภาพ มีความหวาน กรอบ
“ระหว่างห่อต้องตัดแต่งกิ่งใบไปพร้อมกัน แล้วควรทำไปตลอดจนเก็บผลผลิต ทั้งนี้ยิ่งตัดแต่งกิ่งบ่อยเท่าไร จะทำให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง คือห่อแล้วตัดแต่งหรือเก็บแล้วตัดแต่ง แต่การตัดแต่งต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์มาก มิใช่จะตัดตามใจ เพราะอาจเกิดผลเสียตามมา”
อีกทั้งต้องสังเกตดูความสมบูรณ์แต่ละผล หากพบผลใดไม่สมบูรณ์ เช่น ผิวไม่สวย เป็นสีแดงเพราะโดนแดดมากจะตัดออก แยกไว้นำไปแปรรูปเป็นน้ำฝรั่ง ส่วนเนื้อและเปลือกที่บีบน้ำออกแล้ว นำไปทำปุ๋ยหมักต่อไป ส่วนการเกิดจุดดำบนผิวเปลือก คุณสมบัติ บอกว่า ไม่ใช่เกิดจากปัญหาโรค แล้วไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่เป็นไปตามธรรมชาติปกติของการปลูกผลไม้แบบอินทรีย์ แต่ถ้าผิวเกลี้ยงและขาวมากอาจน่ากลัวกว่า
หลังจากห่อแล้ว ประมาณ 60-70 วัน จึงเก็บผลผลิต ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาด ใช้วิธีจดวันที่ไว้ในถุงห่อ ทำให้มีความแม่นยำ ผลผลิตได้เวลาเก็บที่เหมาะสม มีมาตรฐานเดียวกันทุกผล
ข้อมูลจาก (เว็บไซต์ : เทคโนโลยีชาวบ้าน)
การจัดหากิ่งพันธิ์ุฝรั่งกิมจู
เราสามารถหากิ่งพันธิ์ุฝรั่งกิมจูได้จากสวนฝรั่งที่จำหน่ายกิ่งพันธิ์ุโดยการตอนหรือปักชำ ซึ่งจะได้กิ่งพันธิ์ุที่ตรงกันพันธิ์ุุโดยดูได้จากผลฝรั่งของสวนนั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปหลักจากชำลงถุงดำและเพาะเลี้ยงระยะหนึ่งเพื่อให้กิ่งพันธิ์ุแข็งแรงมีใบอ่อนแตก