Home ศึกษาหาความรู้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กับงานด้านการสหกรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กับงานด้านการสหกรณ์

by cmpccoop

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานสหกรณ์นั้น มีนานัปการ ดังจะเห็นได้จากพระราชดํารัสที่ได้พระราชทานแก่ผู้นําสหกรณ์ทั่ว ประเทศเมื่อครั้งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ว่า

“…คำว่า “สหกรณ์” แปลว่า การทํางานร่วมกัน การทํางาน ร่วมกันนี้ลึกซึ่งมาก เพราะว่าจะต้องร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งในด้านงานการที่ทําด้วยร่างกาย ทั้งในด้านงานการที่ทําด้วย สมอง และงานการที่ทําด้วยใจ ทุกอย่างนี้ขาดไม่ได้ต้องพร้อม งานที่ทําด้วยร่างกาย ถ้าแต่ละคนทําก็เกิดผลขึ้นมาได้ เช่น การทําเพาะปลูกก็มีผลขึ้นมา สามารถที่จะใช้ผลนันในด้าน การบริโภคคือ เอาไปรับประทานหรือเอาไปใช้ หรือเอาไป จําหน่ายเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพได้ ถ้าแต่ละคนทําไปโดย ลําพังแต่ละคน งานที่ทํานั้นผลอาจจะไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ละอาจจะไม่พอเพียงในการเลี้ยงตัวเอง ทําให้มีความเดือดร้อน ฉะนั้นจะต้องร่วมกันแม้ในขั้นที่ทําในครอบครัวก็จะต้องช่วย กันทุกคนในครอบครัวก็ช่วยกันทํางานทําการ เพื่อที่จะเลี้ยงครอบครัวให้มีชีวิตอยู่ได้ แต่ว่าถ้าร่วมกันหลายๆ คนเป็นกลุ่ม เป็นก้อนก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี ความสามารถ มีผลได้มากขึ้น…”

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

สหกรณ์เกิดขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ในปลายสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากชาวนา ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากภัย ธรรมชาติและการเป็นหนี้พ่อค้าข้าว ต้องสูญเสียที่นาไปจํานวนมาก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส นามปากกา น.ม.ส. ทรงเป็นผู้ให้กําเนิดการสหกรณ์ในประเทศไทย) จึงทรงนําวิธีการสหกรณ์ มาทดลองแก้ปัญหา โดยให้ชาวนารวมกลุ่มกันขึ้น จัดตั้งและจดทะเบียนสหกรณ์ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ชื่อ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จํากัดสินใช้ ตําบล วัดจันทร์ อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐทําหน้าที่แนะนําให้รู้จักการทํางานร่วมกัน รับผิดชอบ ร่วมกัน และเป็นตัวกลางให้กลุ่มชาวนาดังกล่าว กู้เงินจากบริษัทแบงก์ สยามกัมมาจล จํากัด (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด) เป็นผลสําเร็จ ปรากฏ ว่าภายใน ๑ ปี ชาวนากลุ่มนี้สามารถคืนเงินยืมให้แก่บริษัทได้ทั้งต้นและดอก และสามารถชําระหนี้พ่อค้าได้ร้อยละ ๓๐ เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจดังกล่าว กิจการสหกรณ์จึงขยายออกไปที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วิธีการสหกรณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วิธีการสหกรณ์เพื่อพึ่งตนเองให้ได้ ดังพระราชดํารัสที่พระราชทานแก่ผู้นําสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคมและสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ว่า

“…ประเทศไทยพูดโดยส่วนรวมก็เป็นประเทศที่อาศัยการเกษตร ในทุกสาขาเป็นหลัก เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคง จึงต้อง มีวิธีการที่เหมาะสม สําหรับให้ผู้ที่ปฏิบัติงานเกษตรนี้สามารถ ที่จะผลิตได้มากที่สุด และมีความสุขความเจริญความมั่นคง มากที่สุด การใช้วิธีของสหกรณ์นี้ดีที่สุดแล้ว เพราะว่าผู้ที่ ปฏิบัติงานในด้านเกษตร ก็จะได้รับประโยชน์ทั่วถึงทุกคน…”

ทั้งยังทรงสนับสนุนและส่งเสริมสหกรณ์เป็นอย่างยิง ทุกครั้งที่เสด็จแปรพระราชฐานในต่างจังหวัด ทรงเยี่ยมเยือนสมาชิกสหกรณ์และทรงปรารภให้ใช้ วิธีการสหกรณ์เข้ามาแก้ไขปัญหาของราษฎร ดังพระราชดํารัสที่ว่า

“…ควรที่จะมีการแพร่ขยาย ให้ใช้ระบบสหกรณ์ขึ้นทั่วประเทศ เนืองจากวิธีการสหกรณ์นั้นเอง เป็นรากฐานที่ดีของระบอบ ประชาธิปไตย อย่างสําคัญ สอนให้คนรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน ให้มีการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารสหกรณ์ ตลอดจนให้รู้ถึง คุณค่าของประโยชน์อันจะได้ร่วมกันเป็นส่วนรวม…”

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ทางการได้เริ่มขยายงานสหกรณ์และตราพระราช บัญญัติสหกรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อเป็นกฎหมาย คุ้มครองสหกรณ์โดยเฉพาะ มีความระบุในพระราชบัญญัติสหกรณ์ว่า

“…ประชาราษฎร์ผู้ประกอบการเพาะปลูกและจําพวกอื่นๆ ที่มีกําลัง ทรัพย์น้อยแต่มีความต้องการอย่างเดียวกัน ควรได้รับการอุดหนุนให้ตั้งสหกรณ์ เพื่อยังให้เกิดการประหยัดทรัพย์ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการช่วยตนเองเป็นทางอีกทางหนึ่งซึ่งเผยแผ่ความจําเริญทรัพย์ และจําเริญธรรมในบ้านเมืองให้ยิ่งขึ้น…”

นอกจากนี้แล้ว ในด้านการจัดการทรงส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักทําบัญชี คํานวณรายรับรายจ่ายเพื่อที่จะรู้ต้นทุนกําไร เพื่อจะได้ปรับราคาให้สอดคล้องกับ การตลาด กล่าวสรุปได้ว่า สมาชิกสหกรณ์ต้องมีความรู้ในการประกอบอาชีพ และวิธีการจัดการกับอาชีพของตนให้ดีที่สุด ให้ได้ผลที่สุด ดังพระราชดําริที่ พระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์ ความว่า

“…การทําเกษตรกรรมนั้นจะต้องมีวิชาการ วิชาการแผนใหม่ สมัยใหม่ที่ก้าวหน้า เช่น ใช้ปุ๋ย วิธีใช้ปุ๋ยวิธีใช้เครื่องกลต่างๆ อันนี้ทุกคนก็ปรารถนาที่จะก้าวหน้าเป็นคนสมัยใหม่ เป็นคน ที่ใช้วิทยาการแผนใหม่ คือ หมายความว่าอะไร เครื่องจักรเครืองกลทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ค้นคว้ามาก็ได้ใช้ ในข้อนีจะต้อง คิดดีๆ บางคนมุ่งที่จะสมัยใหม่ มุ่งจะเป็นคนก้าวหน้า ใช้วิชาการ ใช้วิทยาการใช้ที่เรียกว่าเทคโนโลยีคํานี้ก็คงจะเข้าใจเทคโนโลยี ก็หมายถึงเครืองกลต่างๆ ที่เขาค้นคว้ามา เขาเอามาขายเราในราคาแพง แล้วก็เวลาปฏิบัติต้องมีความรู้ช่างกลมีความรู้ใน ทางวิชาการมากขึ้น ข้อนีเป็นข้อดีเหมือนกันที่จะก้าวหน้า แต่ หมายความว่าทุกคน สมาชิกทุกคนจะต้องเรียนรู้วิชาการให้ใช้ วิทยาการต่างๆ เหล่านี้ให้ถูกต้อง ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็จะเกิดผล เสียหายได้…”

“…ฉะนั้นการที่จะใช้ของสมัยใหม่นี้ก็มีอันตรายเหมือนกัน ถ้าไม่ครบถ้วนใช้ปุ๋ยเคมีดินก็แข็งกระด้างไปหมด ถ้าใช้ปุ๋ย ธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยจากฟาง ข้าวจากใบไม้ ดินไม่แข็ง ดินจะซุย ทั้งหมดนี้เป็นข้อคิด…”

“…แต่ที่พูดถึงทางเศรษฐกิจหมายความว่าทางการคํานวณดู ว่ารายได้รายจ่ายเป็นยังไง รายได้จะมาก ทุกคนก็บอกว่า เรามีผลผลิตมาก ๆ เราก็รวยสิ จริงสิรวย เราขายได้มากแต่ว่าก็ต้องจ่ายมากเหมือนกัน…”

“…ฉะนั้น ทุกคนก็จะต้องรู้ดีเกี่ยวกับการทําบัญชีรายจ่าย – รายรับให้ดี ก็ต้องรู้เศรษฐกิจรู้บัญชีมากขึ้น…”

“…ความก้าวหน้ามากอาจจะด้อยกว่าความก้าวหน้าน้อยก็ได้เพราะความก้าวหน้ามากนั้นต้องอาศัยปัจจัย คือ หมายความ ว่า เหตุต่าง ๆ มากเหลือเกิน ซึ่งเหตุเหล่านั้นบางที่มีไม่ได้…”

คุณธรรมที่ทรงเร่งให้สมาชิกสร้างขึ้นในกลุ่ม ก็คือ ความสามัคคี ความ อะลุ่มอล่วย ความชื่อสัตย์ ความเสียสละ และความมีวินัย ดังพระราชดํารัส พระราชทานแก่คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ว่า

“…การที่จะมีความเจริญอยู่ดีกินดีนั้นอยู่ที่การทํางานด้วยวิชานี้ ไม่ได้หมายความว่าต้องมีความรู้สูงมาก แต่วิชาคือวิธีการ ที่จะทํางาน วิธีที่จะทําดีให้ดีที่สุด นอกจากวิธีการที่จะมีความ รู้ในการเพาะปลูกหรือการค้า วิธีที่สําคัญที่สุดคือ ความสามัคคี…”

          และพระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้นำเกษตรกร สหกรณ์นิคมและสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ว่า

“…หลักของสหกรณ์ที่สําคัญก็คือ สามารถที่จะใช้ความสามารถ ของคนตามที่เขามีและไม่แก่งแย่งทะเลาะกัน ในสิ่งที่หยุมหยิมหรือในการเอาเปรียบกันเป็นการทําลายสหกรณ์ เมื่อได้ความ เมตตาซึ่งกันและกัน ความสามัคคีกัน ก็เกิดแรงที่จะสร้างตัวให้เจริญขึ้นได้และเป็นผลแต่ละบุคคลที่เป็นสมาชิก สหกรณ์ ในที่สุดก็เป็นประโยชน์แก่กลุ่มสหกรณ์นั้นเอง…”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วิธีการสหกรณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วิธีการสหกรณ์เพื่อพึ่งตนเองให้ได้ ดังพระราชดํารัสที่พระราชทานแก่ผู้นําสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคมและสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ว่า

“…ประเทศไทยพูดโดยส่วนรวมก็เป็นประเทศที่อาศัยการเกษตร ในทุกสาขาเป็นหลัก เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคง จึงต้อง มีวิธีการที่เหมาะสม สําหรับให้ผู้ที่ปฏิบัติงานเกษตรนี้สามารถ ที่จะผลิตได้มากที่สุด และมีความสุขความเจริญความมั่นคง มากที่สุด การใช้วิธีของสหกรณ์นี้ดีที่สุดแล้ว เพราะว่าผู้ที่ ปฏิบัติงานในด้านเกษตร ก็จะได้รับประโยชน์ทั่วถึงทุกคน…”

ทั้งยังทรงสนับสนุนและส่งเสริมสหกรณ์เป็นอย่างยิง ทุกครั้งที่เสด็จแปรพระราชฐานในต่างจังหวัด ทรงเยี่ยมเยือนสมาชิกสหกรณ์และทรงปรารภให้ใช้  วิธีการสหกรณ์เข้ามาแก้ไขปัญหาของราษฎร ดังพระราชดํารัสที่ว่า

“…ควรที่จะมีการแพร่ขยาย ให้ใช้ระบบสหกรณ์ขึ้นทั่วประเทศ เนืองจากวิธีการสหกรณ์นั้นเอง เป็นรากฐานที่ดีของระบอบ ประชาธิปไตย อย่างสําคัญ สอนให้คนรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน ให้มีการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารสหกรณ์ ตลอดจนให้รู้ถึง คุณค่าของประโยชน์อันจะได้ร่วมกันเป็นส่วนรวม…”

แนวพระราชดำริในด้านการเกษตรและสหกรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทและ พระราชดํารัสแก่กลุ่มเกษตรกรในวาระต่างๆ หลังพระราชพิธีพืชมงคของทุกปี จากพระบรมราโชวาทดังกล่าวแสดงพระราชดําริเกี่ยวกับวิธีการดําเนินงาน ของสหกรณ์ด้านต่างๆ ประมวลได้ดังนี้

รวมกลุ่มเพื่อสร้างพลัง ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่กลุ่ม ชาวไร่ศูนย์พัฒนาไทย – อิสราเอล เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ว่า

“…สหกรณ์นี้ ก็จะต้องให้เข้าใจว่าเป็นวิธีหนึ่ง มีการร่วมกัน ทํางานเป็นกลุ่มเป็นก้อนเพื่อที่จะให้ได้ผลในการพัฒนาความ เป็นอยู่ของตน และอยู่รวมกันก็ทําให้มีแรงงาน คือร่วมแรง งานเพื่อการอาชีพให้เจริญงอกงาม…”

“…ขอให้ทุกคนได้ระลึกถึงว่า การที่มารวมกลุ่ม จะเป็นกลุ่ม เกษตรกรหรือประมง หรือชลประทาน ในรูปสหกรณ์ ในรูปกลุ่ม ในรูปใดก็ตามนั้น จะต้องมีจุดประสงค์ แล้วก็จุดประสงค์ ของแต่ละคน ต้องแบ่งดูว่ามีส่วนอย่างไรในชีวิตของเกษตรกรหรือของคนทุกคน เราต้องแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งคือความเป็นอยู่ประจําวันให้มีอาหารกิน มีเสื้อใส่ แล้วก็มีที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค คือ หมายความจตุปัจจัยที่ทุกคนต้องมี…”

ความรู้ที่เหมาะสมคือ ความรู้ที่ประยุกต์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเพื่อประสิทธิผลของกลุ่ม ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะกรรมการผู้แทนสถาบันเกษตรกร ระดับชาติ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า

“…ในด้านอาชีพของเกษตรกรต้องมีการเพาะปลูกในข้อที่ ๒ นี้ การเพาะปลูกหรือการทํามาหากินนี้ก็ต้องอาศัยหลักวิชา หลักวิชาตั้งแต่พืชพันธุ์ใดที่สมควร วิธีการใช้ปุ๋ยใช้เครื่องทุ่นแรง คือ วิชาการนั่นเอง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของชีวิต ส่วนอีกอันหนึ่งก็คือ เมื่อทําผลิตผลแล้วต้องสามารถที่จะให้ผลิตผลนั้น เป็นประโยชน์ทั้งในด้านบริโภคของตนเองและทั้งในด้านการได้เงิน ค้าขาย เพื่อที่จะได้เงินมาบำรุงชีวิตของคน ทั้งสามส่วนนี้จึง สัมพันธ์กันสําหรับทุกคน…”

ความรู้นั้นอาจมาจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน ดังพระราชดํารัสพระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า

เสด็จฯ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง เชียงใหม่ พ.ศ. 2522

“… แต่โดยที่สภาพของภูมิประเทศ และโครงสร้างของความ เป็นอยู่ที่มีอยู่ตามประเพณีแต่ละแห่งอาจจะแตกต่างกันบ้างความสำคัญก็มีที่ต้องนําความรู้วิชาการต่างๆ นั้นมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสถานที่ที่อยู่ แต่ละคนได้อยู่ในที่ของตนมาแต่ ปู่ย่าตายาย ก็รู้จักทีของตัวดี เมื่อประชุมกันจากที่ต่างๆ ก็ สามารถที่จะมาเปรียบเทียบแลกเปลี่ยนความคิดและเล่าให้ฟัง ว่าที่ของตัวมีอย่าง นั้นๆ และแก้ปัญหามาแต่โบราณอย่างไร ก็อาจจะเกิดความรู้ หรือความคิดพิเศษขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะ ดัดแปลงความรู้ที่ได้มาตามประเพณี เพื่อให้มีความสามารถ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อันนี้ถึงมีประโยชน์ แต่ต้องไม่ลืมว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพในท้องที่…”

ความรู้หรือวิชาการหรือเทคโนโลยีที่ทรงเตือนให้เกษตรกรคิดให้รอบคอบ ก่อนก็คือ การใช้ความรู้ที่มีค่าใช้จ่ายแพง พระองค์ไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ความรู้ที่เกินขีดความสามารถของตน ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ คณะกรรมการผู้แทนสถาบันเกษตรกรระดับชาติ เมือวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า

“…ในเรื่องวิชาการก็เช่นเดียวกัน สมัยนี้เขาใช้เครื่องมือ หุ่นแรง เขาใช้ปุ๋ย เขาใช้วิชาการ แต่ว่าวิชาการเหล่านี้มันก็ แพง ฉะนั้น ถ้าพยายามที่จะปฏิบัติให้อยู่ในขอบเขตของกําลัง ให้ เสียก่อนแล้วก็ค่อยเสริมสร้างขึ้นมาให้ค่อย ๆ มีวิชาการมากขึ้นก็จะมั่นคง…”

 หาแหล่งเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ  ในข้อนี้ทรงเตือนสมาชิกให้ระมัดระวังในการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในสิ่งไม่สมควร และทรงเตือนในเรื่องคืนทุน คือใช้หนี้เมื่อมีกําไรพอสมควรแล้ว ไม่ใช่เหนียวหนึ่งถ่วงไม่ยอมคืนจนดอกเบี้ยพอกมากขึ้น ธนาคารเองก็จะ อยู่ไม่ได้ถ้าสมาชิกไม่ยอม คืนเงิน

ดังพระราชดํารัสพระราชทานแก่คณะกรรมการผู้แทนสถาบันเกษตรกร

          “…ฉะนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรสหกรณ์เพื่ออะไรในการนี้ จึงอยู่ไม่ได้ จึงล้มทุกครั้ง เพราะว่าเก็บดอกเบี้ยเข้ามาไม่ได้ หมุนไม่ได้ มีเงินเท่าไร งบประมาณแผ่นดินเอามาใส่ งบประมาณแผ่นดินก็เป็นเงินของราษฎรเอามาใส่สร้างธนาคาร ธนาคารต้องล้มทุกครั้ง เพราะว่ามิได้รับร่วมมือจากชาวนา…”

กล่าวโดยสรุปก็คือ แนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสําคัญต่อคุณธรรมและจริยธรรมของสมาชิกเท่าๆ กับผลสําเร็จทาง เศรษฐกิจที่ได้รับ ความเจริญของสหกรณ์ที่พึงเป็นจึงเป็นความเจริญทั้งทางจิตใจ และทางกายของสมาชิก ซึ่งเมื่อนําไปปฏิบัติจะเป็นการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่ยั่งยืน

      แนวพระราชดํารินี้ นําไปสู่การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด จังหวัดเพชรบุรี และสหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จังหวัดราชบุรี ที่ประสบความสําเร็จเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ ก็ยังเกิด โครงการจัดสหกรณ์ตามพระราชประสงค์ และโครงการจัดสหกรณ์อันเนื่องมา จากพระราชดําริเป็นจํานวนมาก โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าไปร่วมทําหน้าที่ ในการรวบรวมเกษตรกรให้รู้จักรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ โครงการที่สําคัญ

          ๑. โครงการตามพระราชประสงค์หนองพลับ อําเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และอําเภอชะอํา อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กรมพัฒนา ที่ดินเป็นเจ้าของโครงการ หน่วยสาธิตสหกรณ์หนองพลับเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านสหกรณ์ มี พื้นที่โครงการ ๖๕,๐๐๐ ไร่ (โครงการหนองพลับ ๕๐,๐๐๐ ไร่ โครงการกลัด หลวง ๑๕,๐๐๐ ไร่) รวบรวมเกษตรกรในโครงการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ดังนี้
– สหกรณ์การเกษตรหนองพลับ จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๒
– สิงหาคม สหกรณ์การเกษตรกลัดหลวง จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน

          ๒. โครงการพัฒนาลุ่มน้ําเข็กตามพระราชดําริ จังหวัดเพชรบูรณ์ เขตพื้นที่กิ่งอําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ กองทัพภาคที่ ๓ และ กอ.รมน. ภาค ๓ เป็นเจ้าของโครงการ พื้นที่โครงการทั้งหมด ๑๐๖,๒๕๐ ไร่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสํานักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ให้การส่งเสริมงาน ด้านสหกรณ์ จุดประสงค์ของโครงการเป็นการจัดให้มีหมู่บ้านนิคมสหกรณ์ การเกษตรทางทหารกองหนุนตามสองข้างเส้นทางยุทธศาสตร์ ในพื้นที่ทุ่งสมอ เขาค้อ และเขาข่าง ให้ผู้ประกอบอาชีพทางเกษตรมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด และเพื่อให้เส้นทางยุทธศาสตร์ปลอดภัยจาก อิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในการจัดหมู่บ้านได้มีการขอถอนสภาพป่า สองข้างทางข้างละ ๑ กิโลเมตรทุกระยะ ๓ – ๕ กิโลเมตร จัดที่ทํากินให้เกษตรกร ครอบครัวละ ๑๕ – ๒๐ ไร่ แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จัดเป็นสหกรณ์หมู่บ้านละ ๕๐ ครอบครัว ปัจจุบันมีสหกรณ์ในโครงการ ๒ สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตร เขาค้อ จํากัด และสหกรณ์การเกษตรพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก จํากัด

          ๓. โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี โดยคณะ กรรมการประสานงานพัฒนาสหกรณ์ ศูนย์พัฒนาสหกรณ์โครงการพื้นที่ราบ เชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โครงการนี้ซึ่งมีพื้นที่โครงการทั้งหมด ๔๐๔,๗๓๐ ไร่ มีความเป็นมาโดยสรุปกล่าวคือ พื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัดเป็นพื้นที่ที่มีการแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มี ราษฎรอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนที่เสื่อมโทรมหมดสภาพแล้ว ราษฎรเหล่านี้ ประกอบอาชีพหลักด้วยการทํานาทําไร่ มีฐานะยากจน การประกอบอาชีพทาง การเกษตรต้องประสบปัญหา เพราะดินขาดความอุดมสมบูรณ์และขาดแหล่งน้ำ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวจึง มีพระราชดําริให้พัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขานี้ขึ้น ปัจจุบันมีสหกรณ์ซึ่งจัดตั้งแล้ว รวม ๕ สหกรณ์ ได้แก่
– สหกรณ์นิคมคลองน้ำเขียว จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๒๑
– สหกรณ์นิคมคลองทรายคลองคันโท จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
– สหกรณ์นิคมท่าช้าง จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๒๑
– สหกรณ์นิคมบ้านห้วยชัน จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๒
– สหกรณ์นิคมเขาพรมสุวรรณ จํากัด จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๒

          ๔. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการตามพระราชดําริ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ไม่มีที่ทํากินเป็นของตนเองให้มีที่ดินทํากินตลอดชั่วลูกชัวหลาน แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินทํากินยังคงเป็นของหมู่บ้านสหกรณ์ เริ่มดําเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ พื้นที่โครงการทั้งหมด ๒๒,๐๐๐ ไร่ สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของโครงการ กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสหกรณ์ และได้จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกําแพง จํากัด ในโครงการนี้

          ๕. โครงการตามพระราชดําริทุ่งลิปะสะโง อําเภอหนองจิก จังหวัด ปัตตานี เดิมกรมที่ดินเป็นเจ้าของโครงการ ภายหลังมอบให้องค์การบริหารส่วน จังหวัดปัตตานี หน่วยสาธิตสหกรณ์ทุ่งลิปะสะโงรับผิดชอบงานด้านสหกรณ์มี พื้นที่โครงการ ๑๕,๐๐๐ ไร่ รวบรวมเกษตรกรในโครงการจดทะเบียนเป็น สหกรณ์การเกษตรทุ่งลิปะสะโง จํากัด เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

          ๖. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ อําเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และอําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เดิมสํานักงานเร่งรัดพัฒนา ชนบทเป็นเจ้าของโครงการ เป็นผู้รับผิดชอบ หน่วยสาธิตสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่รับผิดชอบงานด้านสหกรณ์ มีพื้นที่โครงการ ๑๐๐,๗๒๕ ไร่ รวบรวมเกษตรกรใน โครงการจดทะเบียนสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จํากัด เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓

          ๗. โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน จังหวัดบุรีรัมย์ อําเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่โครงการ ๘๖,๐๐๐ ไร่ กองทัพภาคที่ ๒ เป็นเจ้าของโครงการ วัตถุประสงค์เน้นการส่งเสริมอาชีพราษฎร ควบคุมให้ความ ปลอดภัยราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย จัดที่ทํากินและที่อยู่อาศัยให้ราษฎร ตลอดจน จัดระบบและวางแผนการส่งเสริมทุกรูปแบบที่ครบวงจรให้แก่ราษฎร โครงการนี้ ครอบคลุมในเขตพื้นที่ ๓ อําเภอ ได้แก่ อําเภอละหานทราย อําเภอบ้านกรวด และอําเภอปะคํา จังหวัดบุรีรัมย์ สําหรับงานด้านส่งเสริมสหกรณ์ สํานักงาน สหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีสหกรณ์ในโครงการ ๑ แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรโนนดินแดง จํากัด

นอกจากโครงการสหกรณ์นิคมดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ยังมีสหกรณ์รูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร เช่น สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ เป็นต้น

สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด : หมู่บ้านสหกรณ์ตัวอย่าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสกล่าวถึงที่มาของ โครงการหุบกะพง เมื่อคราวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัมภาษณ์ แก่เลขาธิการ กปร. และคณะผู้บริหาร กปร. ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ดังอ้างถึงในหนังสือ โครงการหุบกะพงและหนองพลับ ว่า

“…ตอนแรกไปทําที่สวนผักชะอํา…”

“…อันนี้เป็นประวัติแปลกไม่มีใครรู้ เป็นโครงการที่ไม่บันทึกไว้ตามทางกรุงเทพฯ ถึงหัวหินและชะอํา มีต้นก้ามปูเยอะ เดียวนีเหลือบ้างแต่น้อย นายสุรเทิน (บุนนาค) บอกว่าครัง เป็นสินค้าสําคัญ ทําแผ่นสีทําสีมีคุณภาพ ตัวครังมาทํารัง เสร็จ แล้วตัด แล้วทุบ ๆ มาตากทําครัง ก็เอาประชาชนแถวนันที่ ไม่มีงานทําตั้งเป็นกลุ่มดูแลหน้าบ้าน ต้นก้ามปูในที่สาธารณะ ขออนุญาตทางราชการก่อนมาทําให้ถูกหลักวิชาการ…”

“…ทําไปทํามาเขา ไปรวมกลุ่มทํา รวมพวกได้มากขึ้นจนเกิด เป็นกลุ่มเกษตร ร่วมกับกลุ่มสวนผัก เอาไปบอกว่าสหกรณ์ นี้ดี ก็ช่วยกันทํา ไปส่งเสริมเขา…”

หนองพลับในอดีต

นายตี้ คล่องแคล่ว หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มสวนผักที่ทรงกล่าวถึง ได้ เล่าประวัติของกลุ่มสวนผักชะอํา สรุปความได้ว่า กลุ่มสวนผักล่างเป็นชาวบ้านที่ อพยพมาจากที่ต่างๆ มีนายเอี่ยนเป็นประธาน มีอยู่ทั้งหมด ๘๓ ครอบครัว ได้ เข้ามาเช่าที่ของชาวบ้านชะอําที่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเอง “เขื่อนเพชร” ซึ่งอยู่ ห่างจากหุบกะพง ๗ – ๘ กิโลเมตร ปลูกผักสวนครัวส่งขายตลาด ชาวไร่สวนผักรวมกลุ่มกัน มีการจัดการตลาดและทําร่องน้ำรดผักร่วมกัน แต่ก็ประสบปัญหา เกี่ยวกับการขายผลผลิตได้กําไรน้อย ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ทั้งยังไม่มีที่ดิน ทํากินเป็นของตนเองอีกด้วย จึงได้รวมกลุ่มกันทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอ พระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระองค์ก็เสด็จฯ เข้ามาที่สวนผักล่าง ทรงเรียกให้คณะกรรมการชาวสวนผัก เข้าเฝ้าฯ และรับสั่งให้จัดตั้งกลุ่มไว้ให้แน่นหนา อย่าแตกความสามัคคีและจะ ทรงหาทางช่วยเหลือ

หุบกะพงในปัจจุบัน

ปัจจุบันหมู่บ้านตัวอย่าง “หุบกะพง” จัดในรูปสหกรณ์ที่สมบูรณ์แบบ พื้นที่จํานวน ๗.๕๖๓ ไร่ ได้จัดแบ่งให้เกษตรกรเข้าทําประโยชน์ โดยแบ่งพื้นที่ ส่วนหนึ่ง ซึ่งได้แก่พื้นที่ที่ตั้งของหมู่บ้าน ได้รับน้ำจากระบบชลประทาน อีกส่วน หนึ่งแบ่งเป็นเกษตรน้ำฝน พื้นที่ส่วนที่เหลือ ๑,๐๐๐ ไร่ ซึ่งมีเขตติตต่อกับภูเขา ได้กันไว้ให้กรมป่าไม้ปลูกป่าทดแทน ตามโครงการพัฒนาต้นน้ำตามพระราชประสงค์หุบกะพง และมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นโดยกรมชลประทาน ๓ แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหุบกะพง อ่างเก็บน้ำห้วยทราย – หุบกะพง และอ่างเก็บน้ำ ห้วยแก้ว เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร และยังเป็น สถานที่เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดต่างๆ อีกด้วย พื้นที่ส่วนที่เหลือปลูกสร้าง โรงเรียน วัด ที่ทําการศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง ที่ทําการศูนย์ช่างสหกรณ์ที่ ๘ o และที่ทําการศูนย์ฝึกอบรมสหกรณ์ที่ ๘ และสถานีอนามัย เป็นต้น บางส่วนก็ เป็นพื้นที่ถนนที่ตัดเข้าหมู่บ้าน

 

ที่หมู่บ้านของเกษตรกรซึ่งทําเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง มีการจัดแบ่งหมู่บ้าน ออกเป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ มีถนนตัดผ่าน แบ่งออกเป็น ๕ ซอย พื้นที่ของ d หมู่บ้านเป็นพื้นที่ขนาด ๕, ๖ และ ๗ ไร่ ได้รับน้ำชลประทานเพื่อการอุปโภค และการเกษตร มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้าน นับว่ามีปัจจัยพื้นฐานที่พอเพียงกับการ ประกอบอาชีพ โดยมีทางราชการคอยช่วยเหลือให้คําแนะนําการบริหารงานของ หมู่บ้าน

ส่วนพื้นที่ที่มีสภาพดินไม่ดีอย่างยิ่งได้มีการส่งเสริมให้ปลูกป่านศรนารายณ์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ให้ สมาชิกประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือนในรูปของหัตถกรรมการจัดทําเครือง จักสานโดยใช้เส้นใยจากป่านศรนารายณ์ที่ปลูก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกสอนวิชาชีพแก่กลุ่มสตรีในหมู่บ้าน เพื่อให้มี อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ผลิตภัณฑ์จักสานป่านศรนารายณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ จึงเกิดขึ้นนับแต่นั้นมา กระเป๋า และหมวกที่ทําจากป่านศรนารายณ์ของกลุ่มแม่บ้านหุบกะพงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป จนกระทั่งป่านศรนารายณ์ที่ปลูกได้ไม่พอใช้ต้องซื้อจากที่อื่น นอกจากนี้กลุ่ม แม่บ้านเกษตรกรหุบกะพง ยังแปรรูปผลผลิตการเกษตร โดยการทําผลไม้เชื่อม กวน อบ ตากแห้ง ฯลฯ จําหน่ายทั่วไปอีกด้วย

ด้านการจัดหาทุนของสหกรณ์มีหลายวิธี วิธีหนึ่ง คือ การให้สมาชิกเข้า หุ้นร่วมในสหกรณ์ นอกจากนี้ก็มีการดําเนินธุรกิจด้านต่างๆ เช่น การประกอบ อาชีพ มีการจัดหาสินเชื่อหรือวัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ฯลฯ มาจําหน่ายให้แก่สมาชิกซึ่งทําให้สมาชิกได้ซื้อสินค้าในราคาเป็นธรรม ส่วนใน ด้านการตลาด สหกรณ์จะรวบรวมพืชผลของสมาชิกจําหน่ายให้กับพ่อค้า และตั้ง เป็นร้านค้าเพื่อให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตโดยตรง นอกจากนั้นยังจัด บริการในเรื่องการเตรียมดิน จัดหาเครื่องทุ่นแรง เช่น รถแทรกเตอร์มาใช้บริการ ปรับดินแก่สมาชิกในราคาพิเศษ เพื่อช่วยลดต้นทุนอีกด้วย

สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลําดับ สมาชิก ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ปลูกหน่อไม้ฝรั่งกระเจียบแดง ปลูกผัก ฯลฯ ส่วนที่ไร่สมาชิกปลูกอ้อย สับปะรด มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ การเงินของสหกรณ์ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ สมาชิกเพิ่มจำนวนขึ้นจนในปัจจุบันมีสมาชิกถึง ๔๐๔ ครอบครัว

กล่าวได้ว่า โครงการนี้สามารถยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรใน พื้นที่ และครอบครัวให้มีอาชีพที่มันคง มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น สมดังความ ตอนหนึ่งในพระราชดํารัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่า

“…ในฐานะเป็นสหกรณ์ ผู้ที่มีความจําดี และทุกคนก็ต้องมี ความจําว่า เมื่อ ๒๐ ปีก่อนนี้เราเป็นอย่างไร เมื่อ ๑๐ ปี ก่อนนี้เราเป็นอย่างไร และวันนี้เราเป็นอย่างไร ก็นับว่าก้าวหน้า อยู่ดีกินดีกว่าก่อน มีเสื้อแสงใส่ มีอาหารใส่ปาก แต่ก่อนนี้ ไม่มี ไม่มี หลายคนอด ไม่มีอาหาร มาเดียวนี้ส่วนใหญ่ก็มีอาหาร, ใส่ปาก ไม่ได้อยู่เดือดร้อน อันนีเราต้องคิดว่าเราอยู่ดีขึ้น ดี ขึ้นอย่างมากทีเดียว ตั้งแต่อยู่บ้านมีพื้นเป็นดิน แล้วก็ทําด้วย ไม้ไผ่ จนกระทั่งทําด้วยไม้กระดานและปูด้วยซีเมนต์ ปูพื้น เป็นซีเมนต์เดียวนีก็มีเป็นที่เรียกว่าเป็นตึก คือก่อขึ้นมาอย่าง เช่นอาคารนี้ ก็เป็นตึกแล้ว ฉะนั้น มีความก้าวหน้า ต้องมี กําลังใจ…”

หมู่บ้านหุบกะพงในทุกวันนี้ ยังมีผู้มาเยือนอยู่ไม่ขาดสาย นอกจากจะ เป็นที่อยู่ของเกษตรกรแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตร เป็นศูนย์กลางการ รวบรวมและจําหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในรูปแบบของระบบ สหกรณ์ ซึ่งได้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านสหกรณ์ในท้องที่อื่นๆ อีก เช่น โครงการ จัดตั้งสหกรณ์การเกษตร ตําบลกกตูม อําเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งอยู่ในเขตของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) : ต้นแบบของการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์

แต่เดิมมาชาวราชบุรีและชาวนครปฐม ที่อาศัยอยู่แถบที่ดอนมักเลี้ยงวัว ไทยไว้ไถนา อันเป็นธรรมเนียมของชาวบ้านซึ่งเป็นชาวมอญและชาวยวนเสีย ส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อทางราชการสนับสนุนการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพใหม่ให้แก่ ชาวบ้าน จึงเริ่มมีการตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนมขึ้น เช่น ฟาร์มตวงสุวรรณของผู้ใหญ่ หยุ่น ตวงสุวรรณ เป็นฟาร์มที่รับซื้อนมแห่งแรกในจังหวัดราชบุรี และยังผลิต อาหารสัตว์ตวงสุวรรณขายด้วย ชาวบ้านในหลายหมู่บ้านจึงตื่นตัวเปลี่ยนอาชีพมาเป็นผู้เลี้ยงโคนม

ความเป็นมา

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรี ได้ ประสบปัญหาใหญ่เกี่ยวกับสถานที่จําหน่ายน้ำนมดิบ ซึ่งเกิดความเสียหาย เป็นอย่างมาก ทําให้ประสบภาวะการขาดทุนในการประกอบอาชีพ กลุ่มผู้นํา เกษตรกรตําบลหนองโพและเขตใกล้เคียง ได้ขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี ในขณะนั้นคือ นายจรูญ วัฒนากร ให้ติดต่อผู้รับซื้อ น้ำนมดิบ และได้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตกลงเป็นผู้รับซื้อ เกษตรกรผู้เลี้ยง โคนมจึงรวมกลุ่มจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนมหนองโพขึ้น โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากทางราชการและทุนของกลุ่มเกษตรกรเป็นทุนในการก่อสร้าง อาคารศูนย์รวมน้ำนมพร้อมติดตั้งเครื่องทําความเย็นและเริ่มดําเนินการรับซื้อ น้ำนมดิบจากเกษตรกร เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ การดําเนินการ ประสบผลสําเร็จแต่ยังไม่เพียงพอต่อการรับสถานการณ์น้ำนมดิบที่เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจึงเคลื่อนไหวจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมที่ตําบล หนองโพ เมื่อตอนต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นสหกรณ์ประเภทการบริการชื่อสหกรณ์ โคนมราชบุรี จํากัด ในวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ มีสมาชิกแรกตั้ง ๑๘๕ คน และได้รับโอนกิจการของศูนย์รวมน้ำนมหนองโพมาดําเนินการต่อ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ สหกรณ์ฯ ได้ยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ชื่อใหม่เป็น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด เป็นสหกรณ์ประเภท การเกษตร เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และใช้ชื่อนี้ตลอดมา ก่อนที่จะมีการก่อตั้งศูนย์รวมน้ำนมและสหกรณ์นั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ สถานีผสมเทียมจังหวัดราชบุรี ได้นําเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้าเฝ้าละอองธุลี พระบาทในวโรกาสที่เสด็จฯ เปิดโรงงานนมผงสวนจิตรลดา ณ พระราชวัง สวนจิตรลดา และในครั้งนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดราชบุรี ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาถึงปัญหาความเดือดร้อนที่ไม่มีตลาดจําหน่ายน่านมดิบ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ความช่วยเหลือในการที่จะ สร้างโรงงานนมผงขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นายทวิช กลิ่นประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ราชบุรีในขณะนั้นได้ทราบปัญหาของผู้เลี้ยงโคนม จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินจํานวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณา นํามาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้พระราชทานเงินจํานวนนี้ร่วมกับทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จํานวน ๑,๐๐๒,๐๐๐ บาท มาก่อสร้างและจัดตั้งโรงงานนมผงขึ้น ณ ตําบลหนองโพ อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยได้ดําเนินการในรูปบริษัท จํากัด ใช้ชื่อว่า บริษัทผลิตภัณฑ์ นมหนองโพ จํากัด และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้เสด็จพระราชดําเนินเปิดโรงงานนมผงหนองโพ ซึ่งขยายแบบไปจากโรงนมผงสวนดุสิต เมื่อ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมี พระราชปรารภในการจัดตั้งโรงงานนมผงว่า “เมื่องานของสหกรณ์โคนมเจริญ ก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์ สมาชิกสหกรณ์ต่างมีความเข้าใจในหลักสหกรณ์ และ ดําเนินกิจการของสหกรณ์ได้ดี ถูกต้องตามหลักของสหกรณ์ และมีหลักฐาน มั่นคง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จํากัด พร้อมด้วยโรงงาน ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์และ ให้สหกรณ์ดําเนินกิจการในรูปสหกรณ์ต่อไปตามพระราชประสงค์”

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ คณะกรรมการบริหารบริษัทฯ ได้จัดสร้างโรงงาน ผลิตภัณฑ์นมหลังใหม่ และติดตั้งเครื่องจักรผลิตนมที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน สากลอย่างถูกหลักสุขภาพและอนามัย เพื่อรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่เพิ่มมาก ขึ้นตามลําดับ

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จํากัด ให้ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด รับไปดําเนินการ และทรงรับสหกรณ์นี้ ไว้ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลังจากโรงงานผลิตภัณฑ์นมหลังใหม่สร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดําเนิน เปิดอาคารโรงงานผลิตภัณฑ์นมหลังใหม่ ได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จ พระราชกุศล เป็นจํานวนเงิน ๑๒๙,๐๐๐ บาท ซึ่งได้พระราชทานเงินทั้งหมดให้ สหกรณ์นําไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่บุตรหลานของสมาชิก โดย สหกรณ์นําเงินจํานวนดังกล่าวจัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อการศึกษา ได้รับพระราชทาน นามว่า มูลนิธิพระบารมีปกเกล้า ดําเนินการจัดสรรดอกผลเป็นทุนการศึกษา ให้แก่บุตรของสมาชิกตามพระราชประสงค์ ในวันที่ ๑๗ ตุลาคมของทุกปีเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน (ปี ๒๕๒๒ – ๒๕๓๙) สามารถดําเนินการจัดสรรทุนเพื่อการ ศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอาชีวศึกษา รวมทั้งสิ้น ๑.๓๑๗ ทุน เป็น เงิน ๗๘๐๘๐๐ บาท อีกทั้งผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์เข้ามูลนิธิตลอด มาทุกปีเช่นกัน ปัจจุบันมูลนิธิจึงยังคงมีทุนทรัพย์ จํานวน ๑,๒๕o,๙๘๖.๙๘ บาท ซึ่งจะได้ใช้ดําเนินการตามพระราชประสงค์ต่อไป

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดําเนินใน งานฉลองครบรอบ ๑๕ ปี ของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ใน พระบรมราชูปถัมภ์) ได้ทอดพระเนตรการผลิตผลิตภัณฑ์นมภายในโรงงานของ สหกรณ์ฯ การจัดแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ฯ ตลอดจน เครื่องมือเครื่องใช้ในการเลี้ยงโคนมและอุปกรณ์การผลิตนม ขณะทอดพระเนตร การจัดแสดงนิทรรศการของสหกรณ์อยู่นั้น มีพระราชกระแสรับสั่งกับคณะ กรรมการดําเนินการของสหกรณ์ว่านิทรรศการเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นวิชาการ ทางหนึ่งสําหรับการศึกษาหาความรู้ของคนรุ่นหลัง จึงควรเก็บรักษาไว้โดยการ สร้างพิพิธภัณฑ์ทางด้านโคนม พร้อมกันนั้นได้พระราชทานเงินจํานวน ๙๖๐,๐๐๐ บาท ให้แก่สหกรณ์เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว

อาคารพิพิธภัณฑ์โคนมก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับ พระราชทานนามว่าอาคารเทพฤทธิ์เทวกุล เพื่อเป็นที่ระลึกแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้ซึ่งออกแบบอุปกรณ์เครื่องใช้ในการผลิตนมผงของโรงงาน นมผงหนองโพ

วัตถุประสงค์

สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) มีวัตถุประสงค์สําคัญในอันที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน และช่วยตัวเองในการประกอบอาชีพ ให้มีรายได้ที่แน่นอนและมี มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นกว่าเดิม ในส่วนของสหกรณ์ก็มีวัตถุประสงค์หลักที่เน้นการผลิตผลิตภัณฑ์นมที่ ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสําคัญของการบริโภค นมที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อสมาชิกและมวลชนในสังคมทั่วไป

ผลการดําเนินงาน

สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ได้ดําเนิน กิจการตามแนวพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดมาจน ถึงปัจจุบัน เกษตรกรมีรายได้มั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่มีปัญหาความ เดือดร้อนในเรื่องสถานที่จําหน่ายน้ำนมดิบ ตลอดจนโรงงานสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์นมจําหน่ายไปได้ทั่วประเทศ โดยมีกําลังการผลิตเพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมผลิตได้ เมื่อประกอบกับการดําเนินงาน

ในลักษณะของสหกรณ์ที่ผลประโยชน์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะตกอญู่กับสมาชิกแล้วนับได้ว่าสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) คือเครื่องมือที่ใช้ในทางออกของการแก้ปัญหาและสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้อย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์มีความก้าวหน้ามาตลอด ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก ๔,๗๑๑ คน

ด้วยพระวิจารณญาณอันกว้างไกลที่ทรงดำริให้สร้างโรงงานขึ้นมาเพื่อให้เกษตกรผุ้ผลิตโคนมเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และจำหน่ายเอง นับแต่นั้นมาปัญหานมล้นตลาดก็หายไป สมาชิกส่วนใหญ่มีรายได้ดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากขายน้ำนมดิบให้สหกรณ์แล้ว ลูกหลานของสมาชิกร้อยละ ๘๐ ยังทำงานในโรงงานแห่งนี้ด้วยโรงงานนี้จึงไม่ขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้เพราะสหกรณ์แห่งนี้ยึดแนงพระราชดำริที่เคยรับสั่งว่า อย่าพยายามใช้กลไกมากกว่าคนใช้ กล่าวคือ เมื่อคนมีความผูกพัน มีกิจกรรมร่วมกันก็ย่อมมีความภักดีต่อองค์กร องค์กรนั้นก็ย่อมเจริญรุดหน้า เช่นเดียวกันกับสหกรณ์โคนมหนองโพแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นแรงจูงใจสำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดการรวมตัวกกันตั้งแต่เป็นสหกรณ์ของผู้เลี้ยงโคนมในภูมิภาคอื่นๆ ในเวลาต่อมา

Related Posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00