Home ศึกษาหาความรู้ สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

by cmpccoop

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
  2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
  3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
    –  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
    –  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
    –  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
  4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
    –  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
    –  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
  5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ มาจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

สหกรณ์  หมายถึง  คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเองและช่วยเหลือกัน  ซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ. 2542


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  แนวพระราชดำริแห่งพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับยึดหลักความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีภูมิคุ้มกันตัวเองต่อผลกระทบใดๆ


เมื่อเปรียบเทียบสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  พบว่ามีประเด็นวิเคราะห์  ดังนี้

  1. เป้าหมาย สหกรณ์มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป้าหมายของสหกรณ์คือการมีเศรษฐกิจดีและสังคมดี  หรือความเป็นอยู่ดี  มีสันติสุข  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามข้อความชื่อปรัชญามีเป้าหมายทางเศรษฐกิจ  แต่เมื่อศึกษาลึกลงในรายละเอียดของปรัชญาพบว่ามุ่งให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้ทุกสถานการณ์อันหมายถึงสุกสภาพแวดล้อมจึงหมายรวมถึงสังคมด้วยเป้าหมายของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายเดียวกัน “เป้าหมายสหกรณ์ = เป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
  2. ความสำคัญ สหกรณ์ให้ความสำคัญกับคนมากกว่าสิ่งอื่นใด  ตามคำแปลสหกรณ์ที่ สห คือ การรวมกัน  กรณ์  คือ  การกระทำ  สหกรณ์คือการกระทำร่วมกัน โดยเน้นการรวมกันของคนเพื่อทำงานแก้ปัญหาหรือพัฒนาตามที่ต้องการ  นอกจากนั้นดูได้จากการกำหนดกติกาในสหกรณ์ให้  คน 1  คนออกเสียงได้ 1 เสียง ใน  1 เรื่อง ไม่ได้ยึดจำนวนทรัพย์สินที่มี กับกำหนดให้สมาชิก 1 คน ถือหุ้นกับสหกรณ์ได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้อำนาจเงินควบคุมบังคับสหกรณ์  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาเพื่อการพัฒนาการดำเนินชีวิตของคนให้อยู่ได้ในทุกสถานการณ์  เป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง  มีภูมิต้านทานในตัวเองให้อยู่ได้อย่างมั่นคง  ยั่งยืน  ซึ่งแสดงถึงการมุ่งสู่การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ดังนั้นการให้ความสำคัญของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงให้ความสำคัญกับคน  คุณค่าความเป็นคน  หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ “สหกรณ์ให้ความสำคัญกับคน=ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญกับคน”
  3. วิธีการบรรลุเป้าหมาย สหกรณ์ระบุว่า  การช่วยตนเองและการร่วมมือช่วยเหลือกันเป็นการทำให้บรรลุประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม  มีการขยายความการช่วยตนเองว่าหมายถึงการเป็นคนขยันประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุข  การช่วยเหลือกันคือการร่วมแรงกาย  แรงใจ  กำลังความคิด  กำลังทรัพย์  การช่วยเหลือกันนี้ต้องมีคุณธรรม 4 ประการ  เป็นที่ตั้งคือ  ความซื่อสัตย์  ความเสียสละ  ความสามัคคี  การมีระเบียบวินัย

การบรรลุเป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาตามแนวพระราชดำริ ระบุเงื่อนไขการปฏิบัติ คือ  การมีความรอบรู้  ความรอบคอบระมัดระวัง  มีคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตทั้งนี้  ตามพระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม  2541 ความตอนหนึ่งว่า

“ เศรษฐกิจพอเพียงนี้ที่จะมาบอกว่าให้พอเพียงเฉพาะตัวเอง 100 เปอร์เซ็นต์  เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้  จะต้องมีการแลกเปลี่ยน  ต้องมีการช่วยกัน  ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว  แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือ สามารถที่จะดำเนินงานได้ ”


ดังนั้น  วิธีการบรรลุเป้าหมายของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน  คือ  ประกอบด้วย  ความเป็นรายบุคคล  ความเป็นชุมชนเป็นองค์กร  และความเป็นชาติประเทศ

Related Posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00